คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(ประธานกรรมการ ซง ดูฮวัน, รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน)
ได้แนะนำให้รัฐบาล แก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในการส่งคนไปทำงานต่างประเทศที่สูงเกินไปและการเลือกปฏิบัติด้านค่าจ้างแก่ลูกเรือแรงงานชาวต่างชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ทำงานของแรงงานชาวต่างชาติซึ่งทำงานเป็นพนักงานบนเรือเดินสมุทร
ปี 2020 ผลจากการตรวจสอบ
พบว่า ในกระบวนรับสมัครและว่าจ้างลูกเรือแรงงานชาวต่างชาติ จะต้องจ่ายค่าส่งคนไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก
รวมทั้งเงินมัดจำให้กับบริษัทส่งคนไปทำงานของประเทศ และแรงงานชาวต่างชาติจำนวนมากลงเรือประมงมาเกาหลีด้วยสภาพที่มี
หนี้สินจำนวนมาก
หากดูประกาศรับสมัครลูกเรือปี
2020 โดยบริษัทส่งคนไปทำงานต่างประเทศ A กรณีเรือประมงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง 20 ตันขึ้นไป
เพื่อป้องกันการหลบหนีของลูกเรือ
จำเป็นต้องส่งเอกสารบ้านหรือที่ดินให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
(คืนให้หลังจากออกจากบริษัท) และจ่ายประมาณ 10 ล้านวอน ในค่าส่งคนไปทำงานต่างประเทศรวมทั้งเงินมัดจำสำหรับการหลบหนี
ผู้ได้รับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศที่เกี่ยวข้อง
ไม่ใช้จ่ายอย่างน้อย 28 เดือน
นี่คือจำนวนเงินที่สามารถสะสมได้เมื่อรวบรวมตามที่เป็นอยู่
นอกจากนี้ แรงงานชาวต่างชาติในฐานะลูกเรือบนเรือเดินสมุทรและเรือประมงใกล้ชายฝั่ง
ที่มีน้ำหนักมากกว่า 20 ตัน ต้องทนทุกข์ทรมาน จากการทำงานนานหลายชั่วโมงโดยไม่จำกัดชั่วโมงการทำงานสูงสุด
ไม่เพียงเท่านั้น ค่าจ้างที่พวกเขาได้รับนั้นต่ำกว่าค่าจ้างของ ลูกเรือชาวเกาหลีอย่างมาก
และยังพบว่า ถูกเลือกปฏิบัติในการใช้พื้นที่ในการดำรงชีวิต เช่น ห้องน้ำ
ห้องส้วมและ การจัดหาน้ำดื่ม กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การด่าทอ
ทำร้ายร่างกาย ยึดบัตรประจำตัวประชาชน และการค้างจ่ายค่าจ้างอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาสมุทรและการประมง
เมื่อวันที่ 30 กันยายน
ให้ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของลูกเรือแรงงานชาวต่างชาติ ได้แก่ △รับประกันมาตรฐานเวลาพักและเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสม
ผ่านกฎหมาย △การรับสมัครและขั้นตอนการจ้างงานควร
ได้รับการจัดการโดยสถาบันของรัฐโดยเฉพาะ △ ลบข้อกำหนดการเลือก
ปฏิบัติใน 'ประกาศค่าแรงขั้นต่ำสำหรับลูกเรือ' △กำกับดูแลแรงงานลูกเรือเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติ,
การอบรมด้านสิทธิมนุษยชน และแนะนำขั้นตอนการช่วยเหลือด้านสิทธิให้เพิ่มขึ้น
เป็นต้น
ตามรายงาน ‘สถิติประจำปีของลูกเรือประจำปี
2021’ ระบุว่า สิ้นปี 2020
มีพนักงานลูกเรือ ทั้งหมด 60,340 คน ในหมู่พวกเขาแรงงานชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นลูกเรือ มีจำนวน
26,775 คน หรือ 44%
ของจำนวนลูกเรือทั้งหมด ในขณะที่จำนวนแรงงานชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้น
444 คน เมื่อเทียบกับปีก่อน
แต่ในทางกลับกันจำนวนลูกเรือชาวเกาหลีลดลงอย่างรวดเร็วทุกปี ดังนั้นคาดว่าการพึ่งพาแรงงาน
ชาวต่างชาติจะเพิ่มมากขึ้น
ในอีกด้านหนึ่ง ประชาคมระหว่างประเทศ
รวมทั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เห็นว่าแรงงานชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นลูกเรือ บนเรือประมงเกาหลี
ปราบกับค่าใช้จ่ายในการส่งคนไปทำงานต่างประเทศที่มากเกินไป, การเลื่อนจ่ายค่าจ้างออกไปและการค้าง
จ่ายค่าจ้าง, การยึดบัตรประจำตัว และวิธีการแยกและควบคุม เช่น การปล่อยให้อยู่บนเกาะหรือการห้ามออกจากที่พัก
และยังชี้ให้เห็นว่าพวกเขาตกอยู่ในอันตรายจากการบังคับใช้แรงงานและเรียกร้องให้รัฐบาลเกาหลีแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ในเกาหลี คำแนะนำของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นเพียงคำแนะนำ
และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากเป็นคำแนะนำจากหน่วยงานระดับชาติเดียวกันและมีอำนาจในระดับหนึ่ง มากกว่าครึ่งของหน่วยงานที่ได้รับข้อเสนอแนะ
จึงปฏิบัติตาม
คงต้องรอดูกันต่อไปว่ากระทรวงมหาสมุทรและการประมงจะปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างไร
นักข่าว ซง ฮาซอง
댓글을 작성하기 위해서는 로그인이 필요합니다
댓글
1