기사한줄요약
게시물 내용
อุโมงค์ใต้ทะเลที่ยาวที่สุดในเกาหลีและยาวที่สุดเป็นอันดับ
5 ของโลก อุโมงค์ใต้ทะเลโบ-รย็องในจังหวัดชุงชองนัม จะเปิดในวันที่ 1 ธันวาคม
อุโมงค์ใต้ทะเลโบ-รย็องเป็นอุโมงค์ใต้ทะเลที่เชื่อมต่อระหว่าง
ซินฮึก-ดง ถึง โอชอน-มย็อน
ในจังหวัดวอนซาน ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ทะเลที่มี ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร
ถูกสร้างขึ้นที่ความลึก 50 เมตรใต้ทะเล และเส้นบนและล่างแต่ละเส้น
แยกออกเป็นสองเลน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี
นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม ปี 2010
เมื่อขึ้นรถและเข้าไปในอุโมงค์
จะรู้สึกเหมือนกำลังขี่ลงเขา ทั้งนี้เพราะเป็นอุโมงค์ที่มีความลาดชันน้อย 4-5 องศา
เนื่องจากเป็นอุโมงค์ที่ลอด ผ่านหินด้านล่างก้นทะเล
อุโมงค์ใช้
‘วิธีนาทึม
NATM’ ที่พัฒนาขึ้นในออสเตรียในอดีต เป็นวิธีการทำรูในหินดาน
โดยใส่วัตถุระเบิดหลังจากนั้นทำการระเบิด และจัดการส่วนที่เสียหายด้วยช็อตครีต
(วิธีการเป่าปูนและคอนกรีตในพื้นผิวก่อสร้างด้วยการอัดอากาศ)
ความยากค่อนข้างสูงเพราะเป็นงานเจาะถนนใต้น้ำ
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากสภาพของหินดาน ที่จริงแล้วถ้าหินมีคุณภาพดี จะสามารถขุดได้ประมาณ 3 เมตรต่อวัน
แต่โดยทั่วไปแล้วการขุดเพียงประมาณ 1 เมตรนั้น เป็นเรื่องปกติ
เมื่อเข้าสู่จุดที่ลึกที่สุดประมาณ
5 กิโลเมตร จะรู้สึกถึงบรรยากาศที่เย็นสบาย
เป็นจุดที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 80 เมตร เช่น น้ำทะเล 25 เมตร และหินดาน
55 เมตร
หากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
เช่น อุบัติเหตุจราจรหรือไฟไหม้ ในจุดนี้ดูเหมือนยากที่จะรับมือ
แต่โชคดีที่ยังมีมาตรการในการตรียมการล่วงหน้า เกี่ยวกับอุบัติเหตุต่างๆ
ขณะนี้มีห้องสำหรับบุคลากร
21 ห้อง ที่สามารถอพยพผู้คนได้ในระยะ 220 ม. และมีการติดตั้งยานพาหนะ 10 คัน ในช่วง 660 ม. นอกจากนี้
มีการติดตั้งหัวจ่ายน้ำดับเพลิงในร่มทั้งหมด 301 ตัว ทุกๆ 50 ม. และกล้องวงจรปิด
92 ตัว มีพัดลมไอพ่นทั้งหมด 4 ตัว เพื่อขจัดควัน
ในกรณีที่เกิดไฟไหม้
อุโมงค์นี้ยาวที่สุดเป็นอันดับห้าของโลก
รองจาก Tokyo Bay Aqua-Line (9.5 กม.)ในญี่ปุ่น, Bomlafjord ในนอร์เวย์ (7.9 กม.),
Eiksund (7.8 กม.) และ Oslofjord
(7.2 กม.)
ยาง ซึงโจ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุงชองนัม กล่าวในงานแถลงข่าวที่หน้าอุโมงค์ใต้ทะเลโบ-รย็องว่า “หากผู้คนจำนวนมากเข้ามาเยี่ยมชมชุงนัม ผ่านอุโมงค์ใต้ทะเลโบ-รย็อง เพื่อเพลิดเพลินกับการพักผ่อนและการท่องเที่ยว รายได้ของผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นจะเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจใน ท้องถิ่นจะฟื้นคืนชีพ”
นักข่าว ซง ฮาซอง
댓글
0