생활정보

เด็กทารกแรกเกิด 100 คน มี 6 คน ที่เป็นบุตรของครอบครัวพหุวัฒนธรรม...แม่ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนามและชาวจีน

2021.11.10 12:25
조회수 882
관리자
0

기사한줄요약

ปีที่แล้ว จำนวนการแต่งงานจากพหุวัฒนธรรมลดลง 34.6% เนื่องจากความลำบากในการย้ายระหว่างประเทศ

게시물 내용

เด็กที่เกิดจากครอบครัวพหุวัฒนธรรมทั้งหมดคิดเป็น 6 ใน 100 คน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในทางกลับกัน เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะย้าย ไปมาระหว่างประเทศต่างๆ ภายหลังจากการระบาดของโควิด19 ในปีที่แล้ว ทำให้จำนวนการแต่งงานจากพหุวัฒนธรรมลดลงอย่างมาก

การกำเนิดของพหุวัฒนธรรม

ตาม ความเคลื่อนไหวของประชากรจากพหุวัฒนธรรมที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พบว่าจากเด็กแรกเกิด 272,337 คน ที่เกิดในปีที่แล้ว มีเด็กแรกเกิด 16,421 คน จากครอบครัวพหุวัฒนธรรม จำนวนเด็กที่เกิดในครอบครัวพหุวัฒนธรรมลดลง 1,518 คน จากปี 2019 หลังจากจุดสูงสุดที่ 22,908 คน ในปี 2012 และมีแนวโน้มลดลงทุกปี จำนวนการแต่งงานพหุวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2019 ก่อนเกิดโควิด19 แต่การเกิดสวนทางกับการแต่งงานที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของเด็กแรกเกิดที่มาจากพหุวัฒนธรรมจากเด็กแรกเกิดทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น 6% เนื่องจากอัตราการเกิดในประเทศ ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่สัดส่วนเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น เป็น 6% ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 เมื่อรวบรวมสถิติการเปลี่ยนแปลงของประชากร พหุวัฒนธรรม เมื่อแย่งตามสัญชาติ กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือ แม่ของเด็กแรกเกิดมาจากเวียดนาม 38.8% ซึ่งมากที่สุด รองลงมาคือจีน (17.7%),  ฟิลิปปินส์ (6%) และไทย (4.2%) ตามลำดับ

การแต่งงานพหุวัฒนธรรม

จำนวนการแต่งงานพหุวัฒนธรรมในปี 2020 อยู่ที่ 16,177 ราย ลดลง 34.6% จากปีที่แล้ว (24,721 ราย) ทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดในการ เข้าออกประเทศเนื่องจากการแพร่กระจายของโควิด19 นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ที่จำนวนการแต่งงานพหุวัฒนธรรมลดลงต่ำกว่า 20,000 ราย สัดส่วนของการแต่งงานพหุวัฒนธรรมในการแต่งงานทั้งหมดเมื่อปีที่แล้ว ก็ลดลงเช่นกันที่ 7.6% ตัวเลขนี้ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 (7.4% 7.7% 8.3% 9.2% 10.3%) แต่คราวนี้ลดลง

ตามประเภทการแต่งงาน การแต่งงานระหว่างภรรยาต่างชาติกับสามีชาวเกาหลีอยู่ที่ 66.4% ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด สัดส่วนของสามีชาวต่างชาติคือ 18.7% และ 14.9% แต่งงานกับคู่สมรสสัญชาติที่ได้รับสัญชาติเกาหลี สัญชาติของชาวต่างชาติและภรรยาที่เปลี่ยนสัญชาติ  ได้แก่ เวียดนาม (23.5%), จีน (21.7%), ไทย (10.7%), ญี่ปุ่น (4.7%) และสหรัฐอเมริกา (2.9%) ในปี 2010 เพียงปีเดียว การแต่งงาน กับผู้หญิงชาวไทยคิดเป็นเพียง 1.3% ของการแต่งงานทั้งหมด แต่จำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่า ใน 10 ปี ในช่วงเวลาเดียวกันสัดส่วน ของผู้หญิงจีนลดลงจาก 33.1% เป็น 21.7%

อายุเฉลี่ยของการแต่งงานสำหรับครอบครัวพหุวัฒนธรรมตามการแต่งงานครั้งแรกคือ 36ปี สำหรับผู้ชายและ 29.2 ปี สำหรับผู้หญิง เนื่องจากอายุเฉลี่ยของภรรยาจากครอบครัวพหุวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2010 ช่องว่างอายุเฉลี่ยระหว่างคู่สมรสในปีที่แล้ว   คือ 6.8 ปี ซึ่งต่ำที่สุดที่เคยมีมา

จำนวนการหย่าร้างของครอบครัวพหุวัฒนธรรมอยู่ที่ 8,685 ราย ในปีที่แล้ว ลดลง 1,183 ราย (12%) จากปีก่อนหน้า สัดส่วนของครอบครัวพหุวัฒนธรรมในการหย่าร้างทั้งหมดก็ลดลง 0.7 จุด จากปีที่แล้วเป็น 8.2% ทั้งจำนวนและสัดส่วนของการหย่าร้างนั้นต่ำ เป็นประวัติการณ์ ระยะเวลาที่การแต่งงานดำเนินไปจนถึงการหย่าร้างคือ 8.9 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปี 2010 (4.7 ปี)

คิม ซูยอง หัวหน้าแผนกแนวโน้มประชากรของสำนักงานสถิติ วิเคราะห์ว่า “จำนวนการแต่งงานจากพหุวัฒนธรรมดูเหมือนจะลดลง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศลดลง เนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าออกประเทศทั่วโลก เนื่องจากผลกระทบของ โควิด19”

นักข่าว ซง ฮาซอง

 


0

댓글

0
영국말고미국
2021. 1. 17 13:00
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod
영국말고미국
2021. 1. 17 13:00
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod
영국말고미국
2021. 1. 17 13:00
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod

댓글을 작성하기 위해서는 로그인이 필요합니다